นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ก่อตั้งเมื่อปี 2521 โดยมีนางสาวกังสดาล พงษ์สวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการนิคมฯ ใน นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังมีโรงงานต่างๆมากมาย แต่สิ่งที่แต่ละโรงงานขาดไม่ได้เลยคือ ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรการผลิต (นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง) เป็นผู้ปฏิบัติงานอาชีพที่ ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องยนต์ เครื่องจักร ยานพาหนะ และอุปกรณ์จักรกลต่างๆ วางแผน และควบคุมการผลิต การติดตั้ง การใช้ และการซ่อม ตรวจตรา และทดสอบทำการวิจัยและให้คำแนะนำทางเทคนิคต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานอาชีพที่ ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องยนต์ เครื่องจักร ยานพาหนะ และอุปกรณ์จักรกลต่างๆ วางแผน และควบคุมการผลิต การติดตั้ง การใช้ และการซ่อม ตรวจตรา และทดสอบทำการวิจัยและให้คำแนะนำทางเทคนิคต่างๆ
ลักษณะของงานที่ทำของช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรการผลิตจะเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องยนต์ เครื่องจักร ยานพาหนะและอุปกรณ์จักรกลต่างๆ วางแผนและควบคุมการผลิต การติดตั้ง การใช้ และการซ่อม กำหนดแบบของเครื่องจักร คำนวณต้นทุน และวิธีการผลิต ออกแบบ และคำนวณทางคณิตศาสตร์ และจัดทำรายการแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการ ก่อสร้าง วางแผนเกี่ยวกับวิธีการผลิตและควบคุมงานด้านเทคนิคการผลิต ควบคุมการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการซ่อมอุปกรณ์จักรกล ทดสอบอุปกรณ์จักรกลเกี่ยวกับ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพและความถูกต้องตรงตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ อาจชำนาญในการออกแบบหรือการวางแผน หรือการควบคุมงานทางวิศวกรรมเครื่องกล ช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่นการผลิต การติดตั้ง หรือการซ่อม
ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรการผลิตทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพเหมือนสถานที่ทำงานทั่วไปคือเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป แต่โดยลักษณะงานที่จะต้องควบคุมงานการติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลงานในโรงงานประกอบการผลิตอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากต้องควบคุมดูแลเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหากทำงานในระดับ วางแผนจะเป็นการทำงานในภาคสนามร้อยละ 30 และในสำนักงานร้อยละ 70 ในระดับจัดการ โดยเป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานจะเป็นการทำงานในภาคสนามร้อยละ 50 และในสำนักงานร้อยละ 50 ในระดับตรวจสอบคุณภาพโดยจะเป็นผู้ตรวจสอบความเรียบร้อยถูกต้องของงานจะเป็นการทำงานในภาคสนาม ร้อยละ 90 และในสำนักงานร้อยละ 10
อาชีพช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรการผลิต ได้จัดระดับงานเป็น 2 ระดับ ดังนี้งานระดับช่างฝีมือ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอ่านแบบ เขียนแบบเครื่องกล แบบโครงสร้างผังโรงงาน งานเขียนแบบสั่งงานและกำหนดขนาดงานซ่อม และสร้างชิ้นส่วนเครื่องมือกลตามแบบที่กำหนด โดยการทำงานตั้งแต่การร่างแบบการเจาะ การคว้าน การกลึงการไส การกัด การเจียระไนราบ การเจียระไนกลม การประกอบปรับฟิตชิ้นส่วนเครื่องกลตามคู่มือ ติดตั้ง บำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร ตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่องของเครื่องจักรชนิดต่างๆ ซ่อมสร้างชิ้นส่วนที่ชำรุดด้วยเครื่องมือกลงานระดับช่างเทคนิค ปฏิบัติงานในลักษณะผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยวิศวกร หรือทำงานภายใต้การแนะนำของวิศวกรเป็นงานเกี่ยวกับการออกแบบเขียนแบบ การสร้าง หรือซ่อมชิ้นส่วนและเครื่องมือแม่พิมพ์ตัดแม่พิมพ์ขึ้นรูปแม่พิมพ์พลาสติก อุปกรณ์จับยึดอุปกรณ์จับเจาะด้วยวิธีการเจาะ คว้าน กลึง ไส กัด เจียระไนด้วยเครื่องมือกลอัตโนมัติหรือเครื่องมือกลซีเอ็นซี การทำงานในห้องทดลองหรือห้องตรวจสอบวัสดุการวางแผน การวางระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันและระบบการซ่อมแซมเครื่องจักรที่เสียหาย ตรวจสอบ ค้นหา วิเคราะห์ข้อบกพร่องเครื่องจักรกลชนิดต่างๆ
ผู้ที่จะประกอบอาชีพช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรการผลิตควรเตรียมความพร้อมดังนี้ : ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสาขาวิทยาศาสตร์จากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ ต้องสมัครสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล ลักสูตรการศึกษา 4 ปีเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต(วศ.บ.)ในสาขาวิศวกรเครื่องกล ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่ศึกษาด้านช่างเครื่องกลจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ สมัครสอบคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่เปิดรับผู้ที่วุฒิ (ปวส.) ใช้เวลาศึกษา 2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิศวกรเครื่องกล ผู้ที่จะประกอบอาชีพวิศวกรในทุกสาขาต้องมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโดยจะต้องมี คุณสมบัติและวุฒิการศึกษาตามข้อกำหนด โดยจะขอรับใบอนุญาตได้ที่กองวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสังกัดในกระทรวงมหาดไทย
ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรการผลิต ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา โดยผู้ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้ ราชการ 6,360 รัฐวิสาหกิจ7,210 เอกชน 12,000 – 15,000 ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ หรือทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรการผลิตจะต้อง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรม สาขาเครื่องกล มีความละเอียดรอบคอบ และช่างสังเกต . รักงานช่าง และสนใจด้านวิศวกรรม ชอบงานบุกเบิก สามารถทำงานต่างจังหวัดได้ ออกแบบเครื่องกลได้ดี สามารถควบคุมการประกอบติดตั้งเครื่องจักร
ผู้ประกอบอาชีพช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรการผลิต ต้องปฏิบัติงาน ตรวจสอบข้อสั่ง และชี้แจงโครงการ และแบบพิมพ์เขียวเพื่อกำหนดรายละเอียดวิธีดำเนินการ อุปกรณ์ที่ใช้ และปัญหาที่จะทำการทดสอบเกี่ยวกับชิ้นส่วนซึ่งออกแบบใหม่การเปลี่ยนวัสดุหรือชิ้นส่วนหรือการจัดชิ้นส่วนขึ้นใหม่หรือการประกอบย่อยเขียนรูปแบบแสดงรายละเอียด หรือเขียนภาพสเก็ตซ์เพื่อกำหนดสัดส่วนอำนวยการยกตั้งและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องกลอื่นๆ ซึ่งโดยปกติเป็นเครื่องมือเครื่องจักรขนาดหนักในสถานที่ที่ใช้งานเตรียมฐานสำหรับวางเครื่องจักร โดยใช้เครื่องวัดต่างๆ ตรวจสอบให้แน่ว่าการติดตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องแล้วเคลื่อนย้ายเครื่องจักรหรือส่วนของเครื่องจักรด้วยกว้าน ลูกรอก รถบรรทุก และเครื่องทุ่นแรงอื่นๆวางส่วนต่างๆ ตามตำแหน่งและประกอบขึ้นเป็นเครื่องจักรวางแนวเพลาของเครื่องจักรหรือระบบการส่งพลังงานอื่นๆตรวจสอบเครื่องจักรและปรับเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เครื่องจักรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเปลี่ยนผังของเครื่องจักรและเปลี่ยนเครื่องจักรตามความต้องการซ่อมเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อให้คงอยู่ในสภาพที่ทำงานได้งานเกี่ยวกับการติดตั้งซ่อม บำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยงานควบคุมระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันงานตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่องของเครื่องจักรกล งานถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลงานซ่อมสร้างชิ้นส่วนที่ชำรุดเสียหายด้วยการใช้เครื่องมือ